อานิสงส์ประจำชีวิต





ประจำฤกษ์มงคล

1) งานบวช

2) ปอยข้าวสง

3) เลี้ยงพระ

คือ อานิสงส์ประจำฤกษ์ หรือวิถีชีวิตไท-ยวน ได้แก่

                        (1) อานิสงส์การบวช

จะช่วยให้บิดามารดาได้ไปเกิดในสวรรค์ จึงถือว่าเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา เป็นโอกาสทางการศึกษาของชายที่จะเป็นผู้นำครอบครัวในอนาคต ที่จะเป็นผู้สืบทอดอัตลักษณ์ด้านภาษาไท-ยวนสีคิ้ว เพราะในอดีตการเรียนหนังสือยวนมักจะมีแต่ผู้ชายที่ได้เรียน โดยตอนเป็นเด็กก็เรียนกับพระที่วัด หรือกับผู้สูงอายุที่บ้าน เมื่อโตขึน้ ก็จะได้เรียนเมื่อบวชเป็นพระ-เณร      (ภิรพรรษ ปลิวจันทึก, 2561: 56) โดยการบวชของชาวไท-ยวน คือ

1) อานิสงส์การบวชชีพราหมณ์ คล้ายคลึงกับการบวชในชีพราหมณ์ในภาคอื่น ซึ่งที่บวชชีพราหมณ์หรือผ้าขาวนั้นเมื่อได้รับการนับถือมากจะเรียกว่า “ครูบาขาวปี”


วิดีโอที่ 1 การบวชชีพราหมณ์

2) อานิสงส์การบวชเณร หรือลูกแก้ว

ประเพณีการบวชลูกแก้ว คือ การบวชเณรของชาวล้านนา ประเพณีนี้ถือว่าเป็นงานที่ใหญ่พอสมควรจึงเรียกอีกอย่างว่า “ปอยหน้อย” ในล้านนามีรูปแบบการบวชอยู่ 2 อย่างคือ  การบรรพชาหรือการบวชเณรนั้น นิยมเรียกว่า บวชพระ หรือ บวชลูกแก้ว ส่วนการอุปสมบทหรือบวชเป็นพระภิกษุนั้นเรียกว่า บวชเป็กข์ หรือ เป็กข์ตุ๊ ซึ่งคำเรียก เณร ทางล้านนานิยมเรียกว่า พระ ส่วน พระภิกษุนั้น เรียกว่า ตุ๊เจ้า


วิดีโอที่ 2 การบวชลูกแก้วของในประเทศพม่า

3) อานิสงส์การบวชพระสงฆ์

นิยมบวชเมื่อมีอายุครบ 21 ปี พิธีบวชพระสงฆ์ของชาวไท-ยวนในล้านนาไม่นิยมจัดงานใหญ่โตเหมือนกับการบวชเณร เมื่อเณรมีอายุ 21 ปี  แต่ถ้าอายุได้เพียง 20 ปีแล้วต้องการบวชก็สามารถบวชได้โดยให้นำหัวปลีมาแทนอายุ 1 หัวเข้าร่วมพิธี หัวปลี 1 หัวรวมกับอายุ 20 เข้าไปถือว่าแทนอายุ 21 ปีได้  ใครที่บวชเป็นเณรอยู่จะสึกออกมา 3-7 วัน แต่ยังถือศีลอยู่เหมือนชีปะขาวหรือครูบาผ้าขาว ถือว่าเป็นนาคผู้เตรียมบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อถึงฤกษ์มงคลที่จะบวชลูกชาย พ่อแม่จะเตรียมเครื่องอัฐบริขารอย่างเช่น บาตร จีวร พัดใบตาล ที่กรองน้ำ เป็นต้นให้ผู้บวช โดยมีการบอกญาติพี่น้องให้มาช่วยกันเป็นเจ้าภาพถวายเครื่องไทยทานใหพระสงฆ์ในวันบวชที่วัด


วิดีโอที่ 3 การอุสมบทพระภิกษุของล้านนา

โดยการบวชของชาวไท-ยวนสีคิ้ว ที่วัดใหญ่สีคิ้วปัจจุบันนิยมการบวชพระสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ในพิธีการแห่นาคจะมีชาวไท-ยวนเต้นรำไปพร้อมกับวงดนตรีนำขบวนแห่รอบวัด ก่อนนำนาคเข้าบวชในพระอุโบสถ ในสมัยโบราณชาวบ้านเคยใช้สัตว์พวกช้าง หรือม้าเป็นพาหนะในการแห่นาค แต่ปัจจุบันนิยมใช้รถกะบะให้การแห่นาคแทนเพื่อความสะดวก

ภาพที่ 1 การบวชอุสมบทพระสงฆ์ 1 รูป และแห่รอบวัดด้วยรถยนต์ 2564

วิดีโอ 4 อานิสงส์ของการบวช

4) บุตรผู้บวชแล้วให้สร้างอานิสงส์ช่วยมารดาได้

4.1) เรื่องพระสารีบุตรช่วยอดีตมารดา

ในเรื่องสารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ (พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามงกุฎราชวิทยาลัย. 2525 : ขุ.เปต.อ. (ไทย) 49/99/155-164) ซึ่งกล่าวแม่ของพระสารีบุตรในอดีตชาติได้ทำบาปไว้จึงกลายเป็นเปรตมีร่างกายผอมมาก วันหนึ่งจึงมาขอความช่วยเหลือจากพระสารีบุตร พระสารีบุตรปรึกษาคณะสงฆ์แล้วจึงให้สร้างกุฎิ 4 หลัง แล้วถวายกุฎิเหล่านั้นพร้อมภัตตาหารแก่คณะสงฆ์ แล้วอุทิศอานิสงส์เหล่านี้ทำให้นางเปรตได้มีร่างกายได้ที่สวยงามขึ้น

4.2) เรื่องพระโมคคัลลานะช่วยอดีตมารดา

ของไทยน่าจะมีที่มาจากอุลลัมพนสูตรพระสูตรฝ่ายมหายาน (วิภาดา ทองธรรมสิริ และธนากร ทองธรรมสิริ. 2563 : 114) กล่าวว่า มารดาของพระโมคคัลลานะทำบาปไว้จึงตกนรก พระโมคคัลลานะจึงเสด็จไปโปรดโดยเสกข้าวทิพย์ให้กิน แต่ด้วยบาปกรรมจึงทำให้ข้าวพวกนั้นกลายเป็นถ่านไฟ จึงไปขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงแนะให้จัดสังฆทานถวายหมู่สงฆ์ในวันที่ 15 ค่ำเดือน 7 จนทำให้มารดาพระโมคคัลลานะหลุดพ้นทุคติภูมิ

                                    ซึ่งแม้ว่าเนื้อเรื่องทั้งสองจะไม่เกี่ยวกับการบวชโดยตรง แต่เมื่อบุตรบวชแล้วปฏิบัติดีก็จะทำให้พระอานิสงส์ผลบุญนั้นก็จะทำให้บิดามารดาได้รับอนุโมทนาบุญได้ด้วย

                                (2) ปอยข้าวสัง คือการถวายปัจจัยต่าง ๆ แก่พระสงฆ์ คล้ายการทำสังฆทานแต่มีการจัดขึ้นอย่างใหญ่โต และจัดขึ้นเมื่อญาติพี่น้องมารวมตัวกันเพื่อนัดกันไปทำบุญทั้งครอบครัว ในบางพื้นที่อาจจะจัดให้มีการแสดงฟ้อนรำ จัดมหรสพต่าง ๆ ด้วย



ภาพที่ 2 การทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ที่บ้านเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้เสียชีวิต

                    อานิสงส์การปอยข้าวสงของไท-ยวนสีคิ้วเน้นไปที่การเลี้ยงพระที่บ้านมากกว่าการจัดงานรื่นเริง ซึ่งอานิสงส์การเรียนพระถวายพระไตรจีวร เครื่องสังฆทาน ฯ ก็เหมือนกันเรื่องของนางสุภัทรในเรื่องทัททัลลวิมาน (พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามงกุฎราชวิทยาลัย. 2525 : ขุ.วิ.อ. (ไทย) 48/34/279-283)

                (3) อานิสงส์การเลี้ยงพระประจำงานบุญต่าง ๆ  จะทำให้มีโภคทรัพย์มาก เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ ขวัญข้าว และงานแต่งงาน เป็นต้น ถือว่าเป็นบุญได้อานิสงส์เช่นเดียวกับพิธีตานขันข่าวที่จัดที่วัด

กดปะกันเน้อกับไปหน้าหลัก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การฟื้นฟูอานิสงส์และภูมิปัญญาของไท-ยวน

สำนวนไทย