บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2020

ธงเต่า

รูปภาพ
          เต่าในทางพุทธศาสนาเป็นสัญลักษณ์ของความโง่ มีนิทานเต่าตายเพราะโง่คือกัจฉปชาดก กล่าวถึงเต่าในพระไตรปิฎกมันเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความโง่ ดังปรากฏในกัจฉปชาดก เรื่องเต่าตายเพราะปาก และเรื่องเต่าตายเพราะติดถิ่นที่อยู่เดิม แต่นิทานไทยเต่าเป็นสัตว์มีคุณ ซึ่งอาจจะเป็นค่านิยมที่มาจากไทดำ และไท-ยวน เช่นเรื่อง สุวรรณกัจฉปชาดกนั้นพระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นเต่าเรือนเสียสละช่วยชีวิตชาวเมืองที่หนีภัยสงครามไปอยู่เกาะแต่ไร้อาหารเหมือนเรื่องอดีตชาติขององคุลีมารแต่เต่าโพธิสัตว์เต็มใจสละชีวิตช่วยชีวิตประชาชน (กรรมศิลปากร. 2554 : 325-329) เรื่องนิทานตายายได้เต่าคำเป็นลูก แล้วพระอินทร์ก็มาถามปริศนาธรรมกับพระราชาไม่มีใครตอบได้นอกจากเต่าคำ (แปลก สนธิรักษ์. 2527 : 1-10) และนิทานเต่าคำแม่ของนางอุทธรา มีเนื้อหาเหมือนเรื่องปลาบู่ทองในภาคกลางและมรณมาตาของเขมร แต่เปลี่ยนจากปลาเป็นเต่า แสดงให้เห็นว่าเต่าเป็นผู้มีคุณดังเช่นความเชื่อของชนชาติไทดำหรือลาวโซ่งที่สร้างเรือนเป็นรูปทรงกระดองเต่าเพื่อแทนคุณที่เต่าบอกบทถวายพระยาแถน หรืออยู่ใต้กระดองเต่าเพื่อหลบยักษ์ (ปรียานุช คำ...

ธงปลา

รูปภาพ
    คล้ายกับเรื่องจระเข้ คือวันหนึ่งเศรษฐีคนหนึ่งและชาวบ้านจัดเรือกฐินผ่านมาสัตว์น้ำต่าง ๆ เกิดความศรัทธาก็เลยว่ายตามมาส่งแต่ขึ้นจากน้ำมาถวายกฐินไม่ได้ ชาวบ้านก็เลยทำธงระลึกถึงสัตว์น้ำเหล่านั้น เป็นธงนางเงือกและเต่า ซึ่งคติที่ว่าสัตว์น้ำตามขบวนกฐินปรากฏในเรื่องการเสด็จประพาสทางชลมารคเพื่อถวายกฐินในสมัยพระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลกที่กล่าวว่าในสมัยนั้นนอกจากเรือของพระบรมวงศานุวงศ์แล้วพวกประชาชนที่มีฐานะดีก็จัดแต่งเรือเป็นสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น จระเข้ หอย และปลา ฯ ตามเสด็จงานพระราชกุศลครั้งนั้นด้วย (วิไล ลักษ์แก้วมณีศรี. 2550 : 126)     นางเงือกในสมัยโบราณคืองูชนิดหนึ่งดังปรากฏในโองการแช่งน้ำ พระศิวะเอาเงือกเกี่ยวข้าง (ราชบัณฑิตยสถาน. 2540 : 1-2) แต่ในนิทานไทยพื้นบ้านเงือกกลายเป็นพรายน้ำชนิดหนึ่งที่หลอกคนให้จมน้ำจนมาเมื่อมาถึงยุกรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรื่องรามเกียรติ์ปรากฏนางสุวรรณมัจฉาเป็นสาวงามครึ่งปลาควบคุมปลาให้ในการทำลายถนนไปสู่กรุงลังกาของพระราม ก่อนถูกหนุมานจับได้ (ชุดรามเกียรติ์. 2554 : 250-260 ) จึงมีการนำภาพของนางมาแทนรูปปลาร้ายที่หมายถึงการลุ่มหลงสตรีที่ทำลายเส้นทาง...

ธงจระเข้

รูปภาพ
เศรษฐีคนหนึ่งไม่เคยทำบุญเมื่อตายไปผลกรรมทำให้ไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติของตนที่แอบฝังไว้ที่ท่าน้ำ วันหนึ่งอยากทำบุญจึงไปเข้าฝันภรรยาให้มาขุดสมบัติไปทอดกฐิน แล้วจระเข้นั้นก็ว่ายน้ำตามขบวนเรือกฐินไป แต่ก็ว่ายตามไปไม่ไหว จึงขอให้ภรรยาวาดรูปจระเข้ใส่ในธงนำขบวนกฐินไปแทนตน ( เกศสุดา ไถงตระกูล. 2560 : 126) ด้ายอานิสงส์ดังกล่าวทำให้ไปเกิดเป็นกลุ่มดาวจระเข้บนท้องฟ้า กดปะกันเน้อกลับไปหน้าหลัก