ธงปลา
คล้ายกับเรื่องจระเข้ คือวันหนึ่งเศรษฐีคนหนึ่งและชาวบ้านจัดเรือกฐินผ่านมาสัตว์น้ำต่าง ๆ เกิดความศรัทธาก็เลยว่ายตามมาส่งแต่ขึ้นจากน้ำมาถวายกฐินไม่ได้ ชาวบ้านก็เลยทำธงระลึกถึงสัตว์น้ำเหล่านั้น เป็นธงนางเงือกและเต่า ซึ่งคติที่ว่าสัตว์น้ำตามขบวนกฐินปรากฏในเรื่องการเสด็จประพาสทางชลมารคเพื่อถวายกฐินในสมัยพระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลกที่กล่าวว่าในสมัยนั้นนอกจากเรือของพระบรมวงศานุวงศ์แล้วพวกประชาชนที่มีฐานะดีก็จัดแต่งเรือเป็นสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น จระเข้ หอย และปลา ฯ ตามเสด็จงานพระราชกุศลครั้งนั้นด้วย (วิไล ลักษ์แก้วมณีศรี. 2550 : 126)
นางเงือกในสมัยโบราณคืองูชนิดหนึ่งดังปรากฏในโองการแช่งน้ำ พระศิวะเอาเงือกเกี่ยวข้าง (ราชบัณฑิตยสถาน. 2540 : 1-2) แต่ในนิทานไทยพื้นบ้านเงือกกลายเป็นพรายน้ำชนิดหนึ่งที่หลอกคนให้จมน้ำจนมาเมื่อมาถึงยุกรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรื่องรามเกียรติ์ปรากฏนางสุวรรณมัจฉาเป็นสาวงามครึ่งปลาควบคุมปลาให้ในการทำลายถนนไปสู่กรุงลังกาของพระราม ก่อนถูกหนุมานจับได้ (ชุดรามเกียรติ์. 2554 : 250-260 ) จึงมีการนำภาพของนางมาแทนรูปปลาร้ายที่หมายถึงการลุ่มหลงสตรีที่ทำลายเส้นทางไปสู่พระนิพพาน
กดปะกันเน้อกลับไปหน้าหลัก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น