ใบงานที่ ๑ วันเกิดของข้าวฟ่าง (การคิดบวก กับสำนวนที่มีความหมายเหมือนกัน)
จุดประสงค์เชิงพฤตกรรม : ส่งเสริมแนวทางการจัดการเรียนรู้ความรู้คู่คุณธรรมในรายวิชาสำนวนไทยว่าด้วยการคิดวิเคราะห์และการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
(มุ่งปลุกเร้าให้เกิดกุศลจิต คุณโทษและทางออก)
🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
จงอ่านนิยายประกอบแบบเรียนต่อไปนี้แล้วทำกิจกรรมในชั้นเรียนตามที่กำหนด
ที่มา https://th.pngtree.com/freepng/cartoon-family-birthday_3161450.html
วันนี้เป็นวันเกิดของข้าวฟ่างลูกสาวของลุงกำนันประจำหมู่บ้านซึ่งจัดให้มีงานเลี้ยงวันเกิดใหญ่โตในตอนข้าวฟ่างจึงชวนเพื่อนได้แก่
บัวบุญ บุญตา ตะนอย กลอยใจ วิไล เรืองวิทย์ ศิริยศ และคนอื่น ๆ มาร่วมงาน ในงานเลี้ยงทุกอย่างผ่านไปได้เรียบร้อยดี
แต่ตอนที่จับสลากของขวัญปรากฏว่า เด็กชายศิริยศ หัวเกรียนลูกนายทหารใหญ่ชาติชายจับได้
ที่คาดผมสำหรับเด็กผู้หญิงซึ่งเป็นของที่บุญตาลูกคุณครูใหญ่ซื้อมาจับของขวัญ ซึ่งผู้ซื้อก็ลืมคิดว่าถ้าผู้ที่จับได้เป็นผู้ชายจะทำอย่างไร
ศิริยศ
|
ก็เลยหน้าเสีย บุญตาก็ขอโทษ
|
บุญตา
|
“ขอโทษนะ
ไม่รู้ว่าเธอจะจับได้ของฉัน”
|
ศิริยศ
|
“ไม่เป็นไร
แต่ผมไม่รู้ว่าผมจะเอาไปทำไม่ครับ”
|
และด้วยความเป็นเด็กขี้แยบุญตากับเป็นฝ่ายร้องไห้เสียเอง
|
|
ข้าวฟ่าง
|
“โอ๋ยบุญตาขี้ใจน้อยอีกแล้วระวังจะหัวล้านนะ”
|
ศิริยศ
|
ข้าวฟ่าง และเพื่อน ๆ จะปลอบอย่างไรก็ไม่หยุด
|
ลุงกำนัน
|
“หนูแต๋วถ้าหนูหยุดร้อง
ลุงจะเล่านิทานให้ฟังเอาไหมละ?”
|
บุญตาพยักหน้า และก็สะอื้นไห้ และก็ค่อย ๆ หยุดร้องไห้
เพราะต้องการฟังนิทานของลุงกำนัน แล้วลุงกำนันจึงเล่านิทานเทียบสุภาษิต
เรื่องหัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น และนิ้วด้วนได้แหวนให้พวกเด็ก ๆ ฟัง
“ในสมัยก่อนมีเศรษฐีท่านหนึ่งได้สร้างพระสถูปเพื่อบรรจุพระธาตุขึ้นไว้ในตำบลที่อยู่ของตนเอง
แล้วก็จัดงานฉลององค์พระสถูปสามวันสามคืนเป็นงานใหญ่ ในแต่ละวันมีการเลี้ยงพระถวายภัตราหารแก่พระสงฆ์
และยังจัดให้มีกิจกรรมการทำบุญสำคัญที่แปลกแตกต่างกันไปในแต่ละวันคือ วันแรกสร้างโรงทานแจกอาหารแก่คนยากจน
วันที่สองจัดให้มีการจับฉลากแจกของขวัญแก่คนทั่วไป
วันที่สามปลูกไม้ผลและทำความสะอาดพื้นที่สาธารณประโยชน์
ซึ่งในวันที่สองเมื่อให้การจับฉลากของขวัญปรากฏว่ามีคนพิการมาร่วมจับของขวัญเป็นจำนวนมาก
และในวันนั้นเองคนหัวล้านคนหนึ่งอยากได้ของขวัญ ก็มาขอจับของขวัญกับเขาด้วย
แต่ปรากฏว่าคนหัวล้านคนนั้นกลับได้หวี ทำให้เสียใจมาก เศรษฐีที่อยู่ในที่นั้นสงสารจึงพูดปลอบใจว่าอย่าเสียใจไปเลย
ก่อนหน้านี้ก็มี ตาบอดได้แว่น นิ้วด้วนได้แหวน เหมือนกัน ถ้าไม่พอใจก็ให้เอาไปแลกเปลี่ยนกัน
หรือไม่ก็เอากลับบ้านไปให้ภรรยา คนหัวล้านจึงยิ้มได้
ผู้คนในงานทั้งหลายก็ชอบใจกล่าวหยอกคนหัวล้านว่า “หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น
นิ้วด้วนได้แหวน”แต่นั้นมาก็กลายเป็นสำนวนไทย”
เมื่อเด็กฟังนิทานจบศิริยศก็เอาที่คาดผมผู้หญิงของตนแลกกลับฟุตบอลที่วิไลจับได้
ซึ่งบุญตาก็ยินยอมเรื่องทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี แล้วบัวบุญหัวหน้าห้องของพวกเด็กซึ่งเรียนชั้นเดียวกัน
ก็ถามขึ้นทันทีว่า “นิทานเรื่องนี้คุณลุงกำนันเอามาจากไหนคะ”
ที่มา http://www.thammasapa.com/product/448814/นิทานเทียบสุภาษิตไทย-(พระยาสีหราชฤทธิไกร).html
ลุงกำนัน
|
“ลุงจำมาจากที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง
เรื่องพวกนี้เรียกว่านิทานเทียบสุภาษิต พญาสีหราชฤทธิ์ไกร (ทองคำ สีหอุไร) ท่านรวบรวมไว้
|
เรืองวิทย์
|
“พวกเราจะหาอ่านได้ที่ไหนครับ”
|
ลุงกำนัน
|
“ลองไปหาอ่านที่ห้องสมุดโรงเรียนก่อนก็ได้นะ ถ้าไม่มี
ลุงเคยเห็นที่หอสมุดแห่งชาติ สาขาโคราชของเรานะ”
|
ตะนอย
|
บัวบุญ กับเรืองวิทย์ชอบอ่านหนังสือ
แต่หนูชอบฟังคุณลุงเล่ามากกว่าคะ
|
วิไล
|
“ก็แน่ละสิ
เธอขี้เกียจเรียน จะขึ้น ป. ๖
อยู่แล้วหนังสือยังอ่านไม่ออกเลย...อย่ามาประจบคุณพ่อของฉัน
ท่านไม่ว่าเล่านิทานให้เธอฟังหรอก”
|
ลุงกำนัน
|
“นั้นสินะ แต่นาน ๆ ที่คงไม่เป็นไร มาพวกเด็กจับของขวัญกันให้เสร็จ
และช่วยกินเค้กให้หมดด้วยนะ ก่อนกลับบ้าน”
|
หลังจากนั้นลุงกำนันก็หันไปพูดธุระกับหนูกลอยใจที่มาในงานเลี้ยงลูกสาวของตน
ลุงกำนัน
|
“ฝากบอกแม่แตงอ่อน แม่ของเธอนะว่า พรุ่งนี้สาย ๆ
ฉันจะพาเพื่อนจากกรุงเทพมาดูที่ซึ่งเธอว่าจะแบ่งขายนะ”
|
กลอยใจ
|
“ค่ะ” ตอบรับ
|
ส่วนพวกเด็กคนอื่น ๆ ก็จับของขวัญ
และกินเค้กจนหมดก็กลับบ้านไปกับผู้ปกครองอย่างมีความสุข
🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
หลังจากที่นักศึกษาอ่านนิยายประกอบบทเรียนจบให้นักศึกษา
ทำกิจกรรมดังต่อไปนี้
🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
๑) กิจกรรมภายในชั้นเรียน
-
ให้นักศึกษาสืบค้นหาสำนวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
-
ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายสำนวนไทยที่มีความหมายเข้ากับหลักพรหมวิหารสี่
๒) แบบทดสอบ
จงทำแบบทดสอบต่อไปนี้
๑. ถ้านักศึกษาเป็น “บุญตา” ซื้อของขวัญมาให้เพื่อนแล้วไม่ถูกใจ
ควรยึดคุณธรรมได้เป็นหลัก
ก. อุเบกขา – วางเฉย ข. เมตตา – ปรารถนาให้เป็นสุข
ค. มุทิตา – ยินดีด้วย ง.
กรุณา – ปรารถนาให้พ้นทุกข์
๒. ถ้านักศึกษาเป็น “ศิริยศ” เมื่อได้ของขวัญที่ตนเองไม่ถูกใจ
หรือใช้ไม่ได้มาควรจะทำอย่างไร ?
ก. เก็บหรือทำลายทิ้งไป ข. แลกกับคนอื่นที่ต้องการ
ค. เอาไปถวายศาลเจ้าแม่ ง. เอาไปบริจาคให้ขอทาน
๓. การซื้อสิ้นค้าหรือของขวัญให้เพื่อนวิธีการเลือกใดฉลาดและเหมาะสมมากที่สุด?
ก. ของที่มีค่าแพงหากยาก ข.
ของที่เหมาะสมแก่กำหลังทรัพย์ของตน
ค. ของที่ไม่แพงมากเกินไปแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้รับ ง. ของที่สร้างความอับอายให้ผู้รับ
๔. เมื่อตะนอยอ่านหนังสือไม่ออกแม้ว่าจะขึ้น ป.๔ เพื่อน ๆ
ควรแสดงความเป็นกัลยาณมิตรอย่างไรกับตะนอย?
ก. ให้ตะนอยลอกการบ้าน ข. ช่วยตะนอยโกงข้อสอบ
ค. เล่านิทานให้ตะนอยฟัง ง. ช่วยกันสอนหนังสือให้ตะนอย
๕. การที่ลุงกำนันเล่านิทานเปรียบเทียบสุภาษิตให้เด็ก ๆ
ฟังแสดงคุณลักษณะที่ดีของลุงกำนันแบบใดบางที่เด่นชัด?
ก. ลุงกำนันเป็นพหูสูต และใจดี ข. ลุงกำนันมีไหวพริบดี
รู้มาก
ค. ลุงกำนันรู้มาก และใจดี
ง. ลุงกำนันชั่งสังเกต และมีความอดทนสูง
๖. การที่คนหัวล้านจับได้หวี
ถ้าเป็นคติของชาวพุทธควรถือว่าเพราะด้วยสาเหตุใด?
ก. เพราะโชคชะตา ข. เพราะกรรมแต่ชาติปางก่อน
ค. เพราะกรรมคือการกระทำของเขาเอง ง. เพราะอำนาจการดลบันดาลของพระธาตุ
๗. การทำบุญชนิดใดที่เศรษฐีทำแล้วจะให้ประโยชน์สูงสุดต่อพระศาสนา?
ก.
การสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ข.
การเลี้ยงถวายอาหารให้พระสงฆ์
ค.
การสร้างศาลาและปลูกต้นไม้ ง. การให้คนพิการและคนจนจับของขวัญ
๘.
การทำบุญชนิดใดที่เศรษฐีทำแล้วจะให้ประโยชน์สูงสุดต่อสังคม?
ก.
การสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ข. การเลี้ยงถวายอาหารให้พระสงฆ์
ค.
การสร้างศาลาและปลูกต้นไม้ ง.
การให้คนพิการและคนจนจับของขวัญ
๙.
การทำบุญชนิดใดที่เศรษฐีทำแล้วแสดงให้เห็นว่าเศรษฐีเป็นผู้มีคุณธรรมสูงที่สุด?
ก.
การสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ข. การเลี้ยงถวายอาหารให้พระสงฆ์
ค.
การสร้างศาลาและปลูกต้นไม้ ง. การให้คนพิการและคนจนจับของขวัญ
๑๐.
การทำบุญชนิดใดที่เศรษฐีทำแล้วควรถือว่าต่อชีวิตพระศาสนาและเป็นการทำในเนื้อนาบุญของโลก?
ก.
การสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ข. การเลี้ยงถวายอาหารให้พระสงฆ์
ค.
การสร้างศาลาและปลูกต้นไม้ ง. การให้คนพิการและคนจนจับของขวัญ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น