ใบตอนที่ ๓ ตายเพราะความรัก (ความเสียสละ กับสำนวนในวรรณคดีไทย)
จุดประสงค์เชิงพฤตกรรม: ส่งเสริมแนวทางการจัดการเรียนรู้ความรู้คู่คุณธรรมในรายวิชาสำนวนไทยว่าด้วยการคิดวิเคราะห์และการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
(สืบสาวเหตุปัจจัย อริยสัจ ๔ และปัจจุบันเป็นธรรมดา)
🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
จงอ่านนิยายประกอบแบบเรียนต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/76578
วันนี้เป็นจันทร์วันวันที่เด็กรู้สึกเหนื่อยใจไม่อยากจะให้มาถึงเลย
หลักจากหยุดเสาร์อาทิตย์สบายอยู่กับบ้านมาสองวัน
ในขณะที่คุณครูสาวไฟแรงอย่างครูกันยาดีใจและต้องการไปสอนและให้ความรู้กับเด็กในเรื่องที่เธอได้จัดเตรียมเนื้อหาเขียนแผนการสอนเป็นอย่างดี
แต่เมื่อเธอเข้ามาในห้องเรียนก็ตกใจกับภาพที่เห็นคือ นักเรียนชายสองคนคือต้นสัก
และจิรชัยนักเรียนใหม่ตีกันอยู่ในห้อง
ครูกันยาจึงต้องไปแยกทั้งสองออกจากกันและเริ่มไต่สวน ด้วยความช่วยเหลือของครูคำแหง
ครูที่อยู่ห้องข้าง ๆ ผลปรากฏว่าต้นสัก
อิจฉาจิรชัยที่วิไลเด็กผู้หญิงที่เคยเป็นแฟนเขาเปลี่ยนใจมาชอบจิรชัย ครูกันยาจึงต้องเรียกนักเรียน
ต้นสัก จิรชัย และวิไล มาคุยด้วย ในห้องพักครู เด็กทุกคนนิ่งเงียบ
ครูกันยา
|
จึงพูดขึ้นว่า “ความรักเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นความรักระหว่าง
พี่น้อง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ฯลฯ ซึ่งเป็นความรักที่บริสุทธิ์
ส่วนความรักแบบชู้สาวนั้นควรต้องมีขึ้นในวัยที่เหมาะสม”
|
วิไล
|
“ความรักไม่อาจห้ามกันได้ มันเป็นสิทธิที่พวกเราจะรักกัน
หรือเลิกรักกันคะ”
|
ครูกันยา
|
“ใช่แต่การที่รักแล้วเลิกรักกันก็นำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่หรือ
หรือยังไม่ปัจจัยอีกหลายอย่างที่ทำให้คนรักไม่ได้อยู่ด้วยกัน
ก็เป็นทุกข์อีกเช่นกัน”
|
จิรชัย
|
“แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์เพราะความรักละครับ”
|
ครูกันยา
|
ถอนใจ และว่า “ก็ต้องเรียนรู้ที่ว่า รักแท้คือการเสียสละ
และต้องรักให้เป็น”
|
หลังจากที่คุยและทำความเข้าใจกันแล้ว
ครูกันยาก็ให้นักเรียนทุกคนไปเข้าเรียน ซึ่งวันนี้ครูกันยาจึงเราเรื่องวันทองสองใจให้พวกนักเรียนฟังว่า
“นานมาแล้วในสมัยอยุธยา มีเด็กสามคนคือขุนช้าง ขุนแผน
และนางวันทองเป็นชาวเมืองสุพรรณเพื่อนกันตั้งแต่ยังเล็ก
ซึ่งเมื่อทั้งสามโตขึ้นก็รักกันโดยที่ขุนแผนได้แต่งงานกับนางวันทอง
ทำให้ขุนช้างที่หลงรักนางวันทองอกหัก
ต่อมาขุนแผนได้รับราชการกับพระพันวษาพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้น และได้รับคำสั่งให้ไปทำสงครามที่เชียงใหม่
ด้วยความรักขุนช้างจึงทำอุบายนำหม้อใส่กระดูกไปมาให้นางศรีประจันแม่นางวันทองดู
และว่าขุนแผนตายแล้ว และขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฏหมาย
นางศรีประจันจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง ต่อมาขุนแผนกลับมาสุพรรณบุรี
นางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน
ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี
ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้าง
ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับราชการเป็นมหาดเล็กเวรทั้ง
2 คน
วันหนึ่งนางทองประศรีแม่ขุนแผนให้คนมาส่งข่าวว่านางลาวทองป่วยหนัก
ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง แต่ขุนช้างกลับฟ้องพระพันวษาว่าขุนแผนหนีเวรไปหาภรรยา
สมเด็จพระพันวษาโกรธตรัสให้ริบนางลาวทองเข้าเป็นม่ายหลวงและห้ามขุนแผนเข้าเฝ้า
ขุนแผนได้ทราบเรื่องก็โกรธขุนช้าง
คิดจะไปแก้แค้นขุนช้าง นางทองประศรีมารดาห้ามปรามก็ไม่ฟัง
ได้เดินทางออกจากกาญจนบุรีไปยังสุพรรณบุรีขึ้นเรือนขุนช้าง
ได้นางแก้วกิริยาสาวใช้ของขุนช้างเป็นภรรยา แล้วพาลักวันทองหนีออกจากบ้าน
ขุนช้างตื่นได้ออกติดตามแต่ตามไม่ทัน
ได้ไปทูลฟ้องสมเด็จพระพันวษาให้กองทัพออกติดตามขุนแผน
ขุนแผนไม่ยอมกลับได้ต่อสู้กับกองทัพทำให้ขุนเพชร ขุนรามถึงแก่ความตาย
จนนางวันทองตั้งท้องแก่ใกล้คลอด
ขุนแผนสงสารกลัวนางจะเป็นอันตรายจึงยอมเข้ามอบตัวและเข้าสู้คดีในกรุง
ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทองคืน
แต่ขุนแผนมีความคิดถึงลาวทองภรรยาอีกคนจึงทูลขอนางคืน ทำให้พระพันวสาโกรธ
จึงให้จับขุนแผนจำคุก
วันหนึ่งขณะที่นางวันทองมาเยี่ยมขุนแผน
ขุนช้างได้มาฉุดนางวันทองไปจนนางวันทองคลอดลูกให้ชื่อว่า พลายงาม
เมื่อขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่า
แต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้
นางวันทองบอกความจริงและได้ให้พลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี
พลายงามอยู่กับย่าจนโต ได้บวชเป็นเณรและเล่าเรียนวิชาความรู้เก่งกล้าทั้งเวทมนตร์
คาถา และการสงคราม
เมื่อมีโอกาสขุนแผนได้ให้จมื่นศรีนำพลายงามเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เมื่อมีศึกเชียงใหม่
พลายงามได้อาสาออกรบและทูลขอประทานอภัยโทษให้พ่อเพื่อไปรบ
ขุนแผนและนางลาวทองจึงพ้นโทษ ส่วนพลายงามได้รับตำแน่งเป็นพระไวย ต่อมาพระไวยมีความคิดถึงแม่จึงไปรับนางวันทองมาอยู่ด้วย
ขุนช้างติดตามไป แต่พระไวยไม่ยอมให้ขุนช้างจึงถวายฎีกา
พระพันวษาจึงตรัสให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร นางมีความลังเล
เลือกไม่ได้ว่าจะอยู่กับใคร พระพันวษาทรงโกรธจึงรับสั่งให้ประหารชีวิต” เมื่อนิทานจบ
ครูกันยา
|
ก็ว่า “แต่นั้นมาจึงเกิดสำนวน “วันทองสองใจ”
ไว้ตำหนิผู้หญิงทั้งหลายที่มีจิตใจโลเล นักเรียนว่าจากเรื่องที่ครูเล่าให้ฟัง
นั้นเป็นสิ่งที่ยุติธรรมสำหรับนางวันทองหรือไม่ ?
|
จิรชัย
|
“สมควรแล้วครับเพราะนางวันทองในเรื่อง มีจิตใจโลเล ครับ”
|
วิไล
|
“หนูไม่เห็นด้วยคะ หนูคิดว่า นางวันทอง
มีสิทธิที่จะเลือกอยู่คนเดียวคะ เพราะทุกคนเห็นแก่ตัว ไม่ใครคิดถึงหัวอกนางวันทองเลยคะ
ต้องการจะให้นางไปอยู่ด้วยก็ใช้กำลังบังคับทั้งนั้นคะ”
|
ครูกันยา
|
ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นนะคะ แต่ครูขอสรุปว่าความรักทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดีงาม
แต่ความหลง หรือโมหะ เป็นสาเหตุที่ทำให้รักเป็นทุกข์
โดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวบางคนถืออารมณ์และความหลงเป็นที่ตั้ง โดยไม่เข้าใจว่า
ความรักที่แท้จริง คือการเสียสละให้ผู้ที่เรารักมีความสุข
แม้ว่าบางคนจะบอกว่าความรักนั้นอยู่เหนือเหตุผล แต่เราก็ต้องมีสติและรักให้เป็น
และแม้ว่าเราจะไปรักใครมากอย่างไรก็ตาม
โปรดอย่าลืมผู้ที่รักเรามากที่สุดก็คือพ่อและแม่ของเราเอง
|
เมื่อครูกันยาสรุปให้ฟังเสร็จเสียงกระดิ่งไฟก็ดังขึ้น
ถึงเวลาย้ายห้องเรียนพอดี
ครูกันยารู้ว่าเรื่องความรักของวัยรุ่นเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้
และบางครั้งมันก็มาไวเกินไป นักเรียนของครูกันยาที่จบ ป. ๖ หลายคน
ไม่ได้เข้าเรียนมัธยมศึกษา หรือสายอาชีพใด ๆ เพราะความยากจนเด็กพวกนี้ต้องไปช่วยพ่อแม่ทำงาน
และไม่กี่ปีก็แต่งงานมีครอบครัวไปหมด
และแม้ว่าปัจจุบันโรงเรียนจะเปิดโอกาสในคนที่แต่งงานแล้วเข้ามาศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนได้
แต่ก็น้อยนักที่จะมีคนที่หาเช้ากินค่ำกลับมาเรียนใหม่
บางครั้งครูกันยาก็รู้สึกเป็นห่วงกังวลกับอนาคตของชาติเช่นกัน
โดยเฉพาะในยุคสังคมอาเซียนที่ชาวต่างชาติที่มีความรู้สูงเป็นนายทุนจะมาลงทุนในประเทศไทย
ส่วนคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นได้แค่แรงงานระดับล่างเท่านั้น หรือไม่ก็ตกงานมากขึ้น
เพราะปัจจุบันโรงงานในอนาคตเขาใช้คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์แขนกลทำงานแทนมนุษย์
ทั้งโรงงามจะมีผู้ดูแลระบบและตรวจซ่อมเพียงไม่กี่คน
แต่ครูกันยาก็เป็นเพียงคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งเปรียบเป็นได้แค่ฟันเฟืองตัวเล็ก ๆ
ของสังคม ในโรงเรียนบ้านนาห่างไกลความเจริญ คงไปเปลี่ยนแปลงค่านิยมใด ๆ
ของยุคสมัยนี้ไม่ได้
เธอเองก็ได้แต่ตั้งหน้าตั้งตาทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเท่านั้น
ที่มา http://www.rimkhobfabooks.com/978-974-255-729-4
🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
หลังจากที่นักศึกษาอ่านนิยายประกอบบทเรียนจบให้นักศึกษา
ทำกิจกรรมดังต่อไปนี้
🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
๑) กิจกรรมภายในชั้นเรียน
-
ให้นักศึกษาสืบค้นหาสำนวนไทยที่มีความหมายเกี่ยวกับความรักและการเสียสละ
-
ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาเรื่องความรักในหมู่วัยรุ่น
คุณค่าแท้และคุณค่าเทียม การแก้ปัญหาโดยหลัก อริยสัจ ๔ และความจริงในสังคมปัจจุบัน
๒) แบบทดสอบ
จงทำแบบทดสอบต่อไปนี้
๑. ต้นสักกับวิไลมีความรักในวัยเยาว์เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่?
ก. เหมาะสมเพราะทุกคนมีสิทธิที่จะรัก ข.
ไม่เหมาะสมเพราะทั้งสองยังอยู่ในวัยเรียน
ค. เหมาะสมถ้าเป็นความรักแบบเพื่อน ง. ไม่เหมาะสมเพราะทั้งสองยังมีความรับผิดชอบไม่เพียงพอ
๒. ตามหลักกัลยาณมิตรนักศึกษาควรมีคติแนวคิดอย่างไรถ้าแฟนของเพื่อนเปลี่ยนใจมาชอบตนเอง?
ก. หัวใจห้ามกันไม่ได้ ข. ถ้าเลิกกันจริงแล้วก็ไม่ผิด
ค. ไม่ปิดโอกาสของตนเอง ง. เพื่อนสำคัญกว่าแฟน
๓.
ถ้านักศึกษาเป็นครูกันยาจะทำอย่างไรถ้านักเรียนตีกันในห้องแย่งคู่รัก?
ก. ช่างหัวมัน เรื่องของเด็ก ข. ร้องไห้และขอความเห็นใจจากนักเรียนให้หยุดทะเลาะกัน
ค. ตักเตือนและแนะนำแนวทางที่ถูกต้องเรื่องความรัก ง. แจกถุงยางและสอนเรื่องเพศศึกษา
๔.
ถ้านักศึกษาเป็นครูกันยาจะทำอย่างไรถ้านักเรียนเล่นโทรศัพท์ไม่สนใจเรียน?
ก. บอกให้นักเรียนเอาโทรศัพท์ของตนมาใส่ถังใส่น้ำ ข.
สอนไปไม่สนใจเวลานักเรียนคุยกัน
ค. ไล่นักเรียนที่เล่นโทรศัพท์ออกจากห้อง ง. ให้นักเรียนใช้หาข้อมูลทำใบงานในห้องเรียน
๕.
ถ้านักศึกษาเป็นครูกันยาจะทำอย่างไรถ้านักเรียนในห้องที่ตนเป็นที่ปรึกษาตั้งครรภ์?
ก. ไปเยี่ยมบ้านนักศึกษาที่มีปัญหา ข.
แนะนำให้เด็กไปทำแท้งกับหมอเถื่อน
ค. ให้นักเรียนลาออก จ. ปรึกษากับครูใหญ่และผู้ปกครองเด็ก
๖.
การที่นักเรียนในห้องของครูกันยาตีกันแย่งแฟนสะท้อนข้อบกพร่องใดของครูกันยา
ก. ไม่สามารถคุมชั้นเรียนได้ ข. ไม่พัฒนาการสอนของตนเอง
ค. ไม่ใส่ใจในหน้าที่ของที่ปรึกษาที่ดีพอ ง. ขาดสมรรถภาพในการทำงานร่วมกับเพื่อนครู
๗. นางวันทองในเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นหญิงสองใจสมควรตายหรือไม่?
ก. สมควรเพราะนางสองใจ ข. สมควรเพราะนางทำให้บ้านเมืองในสมัยนั้นเดือดร้อน
ค. สมควรเพราะนางมีชู้เป็นสตรีไม่ดี ง.
เป็นเรื่องของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
ถ้านางวันทองเกิดในยุคปัจจุบันนางอาจจะไม่ตายก็ได้
๘. ถ้านักศึกษาเป็นนางวันทองนักศึกษาจะเลือกใครเป็นสามีระหว่างขุนช้างและขุนแผน?
ก. เลือกขุนช้างเพราะรวย ข. เลือกขุนแผนเพราะหน้าตาดี
ค. ไม่เลือกใครเลยเพราะทำให้วันทองตายทั้งคู่ ง.
ไม่เลือกตัวละครสมมุติเพราะชีวิตจริงไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
๙. เรื่องวันทองสองใจสามารถเป็นคติแนวคิดตามสำนวนไทยได้ดีที่สุด?
ก. รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
ข. รักแท้แพ้ใกล้ชิด
ค. ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์ ง. รักแท้คือการเสียสละ
๑๐. เรื่องตายเพราะความรัก สามารถเป็นคติแนวคิดตามสำนวนไทยได้ดีที่สุด?
ก. รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
ข. รักแท้แพ้ใกล้ชิด
ค. ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์ ง. รักแท้คือการเสียสละ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น