อานิสงส์ประจำเดือน
อานิสงส์ประจำเดือนที่สำคัญของไท-ยวน คือ
ประจำเดือน |
1) ตักบาตรเทโว |
2) บุญกฐิน |
3) ถวายตุง
(ธง) |
4) ลอยกระทงหรือโคมยี่เป็ง |
5) ถวายโคม |
6)
บุญผะเหวด |
7) กวนข้าวทิพย์ |
8) ถวายธรรมชาตาเดือน |
9)
ตักบาตรดอกไม้ |
10)
สลากภัต |
11) บุญสงกรานต์เดือน
5 |
(1) อานิสงส์การตักบาตรเทโว หรือตักบาตรพระร้อย จะทำให้มีโภคทรัพย์มาก
ประเพณีตักบาตรเทโว
เป็นคำย่อมาจาก “เทโวโรหนะ” หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าตามตำนานเล่าว่าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้จึงได้เสด็จไปเผยแพร่พุทธศาสนาทั่วชมพูทวีป
และโปรดพระประยูรญาติทั้งหมดแล้ว สุดท้ายทรงรำลึกถึงพระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายา
ที่สิ้นพระชนม์ไปภายหลังให้ประสูติพระองค์ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์
ฉะนั้นในปีที่ 7 นับตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เมื่อพระอินทร์ทราบพระประสงค์
พระอินทร์จึงให้เทวดาขึ้นไปเชิญพุทธมารดาซึ่งได้ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดุสิตมาฟังธรรม
แล้วพระพุทธเจ้าก็เทศนาโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งเทวดาทั้งปวงที่มาฟังร่วมฟังธรรมในสวรรค์ชั้นดุสิตของพระอินทร์อยู่ในช่วงตั้งแต่วันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา
จนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 พระพุทธเจ้าจึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาโดยพระองค์ทรงให้อิทธิฤทธิ์เปิดให้ทั้งสามโลกเห็นกัน
แล้วจึงประทับที่เมืองสังกัสสะมี
เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญนี้ดังนั้นชาวพุทธจึงทำการตักบาตรเป็นการใหญ่ในวันแรม
1 ค่ำเดือน 11 จนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า “ตักบาตรเทโว”
(เกศสุดา ไถงตระกูล. 2560 : 107-111)
การตักบาตรเทโวนี้
เป็นประเพณีใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากไทยภาคกลางเข้ามาในล้านนาไทย ตั้งแต่พุทธศักราช
2500 เป็นต้นมา ที่ล้านนาที่จัดประเพณีอย่างยิ่งใหญ่มีผู้คนมาร่วมงาน เป็นจำนวนมาก
และมีการนิมนต์พระสงฆ์ถึง 500 รูป มารับบิณฑบาตที่วัดทุก ๆ ปีใน วันแรม 1 ค่ำเดือน
11 ใต้ ซึ่งตรงกับเดือนเกี๋ยง แรม 1 ค่ำ ของล้านนาไทย (มณี พยอมยงค์. 2537 : 19)
โดยการตักบาตรเทโวของชาวไท-ยวนสีคิ้วมีการแห่พุทธรูปให้ชาวบ้านตักบาตรและมีการตีฆ้องนำขบวนแห่เพื่อให้ชาวบ้านรู้ เช่นเดียวกับการแห่กฐิน แห่นาคที่มาบวช ฯลฯ ตามความเชื่อว่าเสียงการตีฆ้องเป็นเสียงประกาศการทำบุญที่จะส่งขึ้นไปถึงสวรรค์
ประเพณีทอดกฐินจะทำในช่วงวันแรม
1 ค่ำ เดือน เกี๋ยงเหนือ (ดิน 11 ไทยภาคกลาง) ประมาณเดือนตุลาคม ไปจนถึงวันขึ้น 15
ค่ำ เดือนยี่เหนือ (เดือน 12 ไทยภาคกลาง) ประมาณเดือนพฤศจิกายน สมัยก่อนชาวไท-ยวนไม่นิยมทอดกฐินมากนักเนื่องจากว่าจะต้องใช้ปัจจัยเป็นจำนวนมาก
ผู้ที่จะถวายกฐินส่วนใหญ่จึงมีฐานะดี
ภาพที่ 2 บุญกฐิน วัดใหญ่สีคิ้ว
3) อานิสงส์การถวายตุง หรือธงบูชาพระสถูป
นิทานธงตะขาบของชาวล้านนาและชาวมอญ
ที่ว่ามีพระราชาคนหนึ่งเกิดเป็นทุกข์ไม่สบายเนื้อสบายตัวขึ้นมาไม่ทราบสาเหตุ
โหรหลวงได้ทำนายว่าให้ได้เสด็จไปเยี่ยมฤๅษี 3 ตน
ที่เคยเป็นเพื่อนกันในอดีตชาติในป่าหิมพานต์แล้วจึงจะหาย
ขากลับไปพบสุสานช้างมีงาช้างมากมายจึงให้นำงาช้างทั้งหมดบรรทุกเรือกลับไปด้วย
ต่อมาตะขาบยักษ์ที่กินซากช้างพวกนั้นกลับมาไม่พบงาช้างที่ประดับที่อยู่ของตนก็โกรธไล่ตามเรือพระราชานั้นไปในทะเล
แต่ในทะเลมีปูยักษ์ตัวหนึ่งได้ชูก้ามไว้ล่าเหยื่อ
เรือของพระราชาแล่นเร็วก็แล่นพ้นไปได้ แต่ตะขาบยักษ์ตัวใหญ่และยาวมากเมื่อเข้ามาในก้ามปูยักษ์จึงถูกปูยักษ์หนีบตาย
เมื่อพระราชากับมาถึงเมืองกลัวบาปที่ทำให้ตะขาบยักษ์ตาย
จึงให้สร้างหอคอยด้วยงาช้างเจ็ดชั้นและทำธงตะขาบแขวนไว้ (องค์ บรรจุน. 2559 :
5,154)
ตามปรากฏในพระไตรปิฎกอุปวาณเถราปทาน ได้กล่าวถึงบุพกรรมของพระอุปวาณเถระที่ท่านได้เอาเชือกผูกผ้าห่มของท่านอันซักขาวสะอาดแล้ว ผูกไว้ที่ยอดไม้ไผ่ยกเป็นธงขึ้นไว้ในอากาศเพื่อบูชาพระสถูปเจดีย์ แล้วพรรณนาถึงอานิสงส์ผลบุญของผู้ถวายธงว่า “จะทำให้เกิดในเทวโลกเป็นราชาของเทวดาทั้งหลาย(พระอินทร์) เมื่อหมดบุญจะได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อหมดบุญก็จะไปเกิดเป็นพระมหาราชา เมื่อหมดบุญก็จะเกิดเป็นพระราชาครองประเทศราชต่าง ๆ ชั่วกาลนานหลายกัลป์” (พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามงกุฎราชวิทยาลัย. 2525 : ขุ.อป. (ไทย) 71/24/88)
4) อานิสงส์ลอยโคมยี่เป็ง ในตอนค่ำในทางภาคเหนือจะมีการปล่อยโคมลอย แต่ในทางไท-ยวนสีคิ้วปัจจุบันนิยมใช้กระทงใบตองเป็นหลัก โดยแต่เดิมประเพณีลอยโคมยี่เป็ง เป็นการบูชาพระเจดีจุฬามณีที่บรรจุมวยผมและพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้าในสวรรค์ และการลอยกระทงไปในน้ำเป็นการบูชาพระพุทธบาทที่เมืองนาค แต่ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่เชื่อว่าการลอยกระทงหรือปล่อยโคมยีเป็งเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยความโศกออกไป
ภาพที่ การปล่อยโคมยี่เป็งที่เชียงใหม่
ที่มา Matthew Butler. 2007 : Online.
5) อานิสงส์ถวายโคม มาจากเรื่องของพระปัญจทีปกเถระในปัญจทีปกเถราปทาน (พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามงกุฎราชวิทยาลัย. 2525: ขุ.อป. (ไทย) 71/59/227) กล่าวว่า “ในอดีตชาติพระปัญจทีปกเถระเกิดเป็นกุลบุตรผู้หนึ่งในสมัยพระพุทธเจ้าชื่อ “ปทุมุตตระ” หลังฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเสร็จได้ไปจุดประทีปบูชาใต้ต้นโพธิ์ ทำให้ได้อานิสงส์คือจะได้เกิดแต่ในภูมิของมนุษย์และเทวดา โดยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะอยู่ในตระกูลที่ร่ำรวย ถ้าได้เกิดเป็นเทวดาจะมีวิมานที่รุ่งเรือง ในโลกมนุษย์เคยเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิชื่อว่า “สตจักษุ” มีอำนาจและฤทธิ์มาก ในพุทธกาลเมื่อบวชจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และได้ตาทิพย์” แสดงว่าถ้าถวายประทีปด้วยความศรัทธาจะได้อานิสงค์คือ
1.1) เกิดเฉพาะในภูมิที่ดีในโลกของมนุษย์และเทวดา
1.2)
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีอำนาจและฤทธิ์มาก
1.3)
เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ถ้าได้บวชจะบรรลุเป็นพระอรหันต์และได้ตาทิพย์
ภาพที่ 4 โคมแอว (สองชั้น) ที่ศาลาวัดใหญ่สีคิ้ว พ.ศ. 2562 (นำออกแล้ว)
6) บุญผะเหวด หรืออานิสงส์บุญเทศน์มหาชาติจะทำให้เกิดในสมัยพระศรีอารย์
วันเดือนยี่เหนือ (เดือน
12 ในภาคกลาง) ขึ้น 15 ค่ำ ในเทศกาลยี่เป็งหรือเป็น
“วันเทศน์ในชาติ”ของชาวไท-ยวนสีคิ้วที่มีการจัดให้มีการเทศมหาชาติทุกปี เป็นวันบุญใหญ่
มีการแห่กัณฑ์หลอน
โดยผู้ร่วมขบวนการแห่แกนหลอน จะแต่งตัวอำพรางคือแต่งหน้าเขียนหนวด ใส่แว่นดำ
ใส่โสร่ง
รำกันไปตามถนนในหมู่บ้านเพื่อไปรับปัจจัยติดกัณฑ์เทศน์ตามหมู่บ้านและสถานที่ใกล้เคียง
การแห่กัณฑ์หลอนจะทำอย่างสนุกสนาน มีเป่าแคน และฟ้อนรำไปด้วย เมื่อถึงวัดก็จะหยุดร้องรำทำเพลงแล้วนำปัจจัยติดกัณฑ์เทศน์ไปถวายพระรูปที่กำลังเทศน์อยู่กัณฑ์ใดก็ได้
เป็นการถวายเพิ่มจากกัณฑ์ธรรมดาที่ท่านได้รับอยู่ในศาลาเทศน์
โดยกัณฑ์หลอนจะทำกี่กัณฑ์ก็ได้
พระรูปใดหากถูกัณฑ์หลอนถือว่าโชคดีเพราะได้ปัจจัยมากเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ชาวบ้านจะมาฟังเทศน์คาถาพัน คือเรื่องราวของเวสสันดรชาดกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นภาษาบาลี รวมทั้งหมดมี 1,000 พระคาถา ตามความเชื่อว่าจะได้ทำให้ไปเกิดในยุคพระศรีอารย์ ที่ปรากฏว่ามีอ้างอิงในวรรณกรรมเรื่องพระมาลัย
ภาพที่ 5 บานประตูหน้าต่างอุโบสถวัดใหญ่สีคิ้วที่สลักรูปเวสสันดรชาดก
ที่มา : ถ่ายภาพโดยผู้เขียน
วิดีโอที่ 3 อานิสงส์มหาชาติล้านนา
7) อานิสงส์การกวนข้าวยาคู หรือกวนข้าวทิพย์ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรค
พิธีกวนข้าวยาคูของไท-ยวนสีคิ้วได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในหมู่ของชาวพุทธทั่วไป เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้
1 วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก เพราะถือว่าเป็นพุทธบูชา
โดยปกติการกวนข้าวทิพย์จะนิยมทำกันก่อนออกพรรษา 1 วัน
แต่การกวนข้าวทิพย์หรือข้าวยาคูของไท-ยวนสีคิ้วจะนิยมทำให้วันก่อนวันเทศมหาชาติ 1
วันในเดือนยี่ของชาวไท-ยวน (เดือน 12 ของชาวไทยภาคกลาง) คือวันที่ 14 ค่ำถือเป็นวันเทศน์นอกชาติด้วย
เพราะเป็นวันก่อนวันเทศน์มหาชาติหนึ่งวัน มีการกวนข้าวยาคูที่วัดใหญ่สีคิ้ว
โดยการนำข้าวอ่อนมามาสับละเอียด แล้วใส่น้ำใบเตยผสม ก่อนจะนำไปกวนในกระทะใบบัว
แล้วใส่น้ำตาล กะทิ นมข้น และอื่นๆ
กวนให้เหนียวได้ที่จนเป็นข้าวยาคูที่เป็นสิ่งมงคล ดีต่อสุขภาพ
และชาวบ้านจะเผาข้าวหลามที่บ้านเพื่อใช้กินกับข้าวยาคู
ที่ว่ากันว่าอร่อยตามรสนิยมของชาวไท-ยวนสีคิ้ว
8) ธรรมชาตาเดือน
คือ อานิสงส์การสร้างคัมภีร์ประจำเดือน
จะทำให้มีความรู้มีปัญญาดี (สงวน โชติสุขรัตน์. 2562 : 149-152) โดยกำหนดธรรมคัมภีร์ที่ท่านกำหนดให้เป็นธรรมชาตาเดือน
ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน
เดือนเกิดภาคเหนือ |
เดือนไทยภาคกลาง |
ธรรมชาตาเดือน |
เกี๋ยง/เจี๋ยง |
สิบเอ็ด |
สุธนู
หรือปฐมกัปป์ |
ยี่ |
สิบสอง |
ช้างฉัททันต์
หรือปทุมกุมาร |
สาม |
อ้าย |
มโหสถ หรือ
มัฎฐกุณฑลี |
สี่ |
ยี่ |
หงส์ผาคำ
หรือ ภูริทัต |
ห้า |
สาม |
อมธรา หรือ
ปุริสาท (มหาสุตโสม) |
หก |
สี่ |
พุทธโฆสเถร
หรือ เตมิยะ |
เจ็ด |
ห้า |
อรินทม
หรือเนมิราช |
แปด |
หก |
สิทธัตถะ
หรือ นารทะ |
เก้า |
เจ็ด |
พุทธาภิเสก
หรือ วิฑุรบัณฑิต |
สิบ |
แปด |
ธรรมจักร
หรือ สุวรรณสาม |
สิบเอ็ด |
เก้า |
พุทธนิพพาน
หรือ เวสสันดร |
สิบสอง |
สิบ |
มหามังคลสูตร
หรือ สุภมิตร |
เดือนใด
ก็เลือกสร้างหรือบูชา (เช่า)
ธรรมคัมภีร์นั้นๆนำไปไว้ที่บ้านตระเตรียมทำกัณฑ์เทศน์ตามแต่อัธยาศัย
ใครจะทำบุญอุทิศให้แก่ใครก็เขียนใส่
สะเรียงคือกระดาษตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่ามีปลายแหลม
แล้วเอาพันปลายไม้ที่เหลาไว้ปักบนกัณฑ์เทศน์
9) ตักบาตรดอกไม้
การตักบาตรดอกไม้ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของชาวไท-ยวนสี้คิ้ว
และไท-ยวนสระบุรี เรียกว่า “ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ที่จัดในเทศกาลเข้าพรรษาของพุทธศาสนา
ในวันแรมค่ำ เดือนแปดของทุกปี ชาวไท-ยวนสีคิ้วจะพากันไปทำบุญตักบาตร
เนื่องในวันเข้าพรรษาที่วัดใหญ่สีคิ้ว เมื่อเสร็จจากการทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้าแล้ว
ก็จะพากันนำดอกไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายต้นกระชาย หรือต้นขมิ้น มีหลายสี เช่น สีเหลือง
สีขาว เรียกกันว่า “ดอกเข้าพรรษา” มาใส่บาตรให้พระสงฆ์ แต่ถ้าหาได้ลำบาก
ก็จะนำดอกไม้มงคลเช่น ดอกบัว ดอกเข็ม ดอกดาวเรือง เป็นต้น โดยชาวไท-ยวนเชื่อว่าการตักบาตรดอกไม้
ในวันเข้าพรรษาจะได้อานิสงส์ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ภาพที่ 8 ดอกเข้าพรรษาหรือดอกหงส์เหิน
ที่มา : ธิดารัตน์ จันทร์ดอน : 2560. ออนไลน์.
10) ฉลากภัต
หรือที่คนไท-ยวน เรียกว่า
“งานบุญกินข้าสลาก” “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือ “ตานก๋วยสลาก” สมัยก่อนนิยมจัดกันในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดบางท้องถิ่นจัดในเดือนสิบ
(ขึ้น 15 ค่ำ) หรือ ออกพรรษา
ประเพณีดังกล่าวนีมี้ชื่อเรียกแตกต่างกัน เป็นประเพณี ในพระพุทธศาสนา มีมาตั้งแต่พุทธสมัยพุทธกาล
มีการจัดหาเครื่องไทยทาน อาทิ ผลไม้ ขนม สิ่งของที่ควรแก่การบริโภคของพระสงฆ์ และสิ่งที่ผู้ล่วงลับไปแล้วเคยกินเคยใช้
นามาจัดใส่ชะลอมหรือจัดใส่กระจาดที่สานด้วยไม้ไผ่ มีการตกแต่งประดับประดาด้วยกระดาษสีทำเป็นช่อดอก
มีการทำฉัตร 3, 5, 7 หรือ 9 ชั้น ประดับแล้วจึงนำไปถวายให้คณะสงฆ์จับสลากให้แก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง
ด้วยเชื่อว่าผู้จัดทำจะได้อานิสงส์มาก และเป็นการการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้อยที่ล่วงลับไปแล้ว
และปรารถนาเพื่อความสุขในชาติหน้า (ภิรพรรษ ปลิวจันทึก,
2561: 63)
1)
อานิสงส์ถวายฉลากภัตแล้วทำให้มีบริวารและโภคทรัพย์มาก
เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี
(พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามงกุฎราชวิทยาลัย. 2525 : ขุ.ธ.อ. (ไทย) 40/11/68)
ที่กล่าวถึงเรื่องที่กาลียักษิณีผูกเวรกินลูกของนางกุลธิดา
สุดท้ายพระพุทธเจ้ามาสอนให้เลิกผูกเวรกัน แล้วนางกุลธิดาพานางยักษ์ไปเลี้ยงดู
นางยักษ์จึงตอบแทนโดยการบอกฟ้าฝนให้รู้ทำให้นางกุลธิดาทำนาได้ข้าวดีทุกปี
ชาวบ้านจึงนำอาหารมาให้นางยักษ์บ้างเพื่อให้นางยักษ์ช่วยบอกฟ้าฝนให้
นางยักษ์มีอาหารมากแล้วจึงจัดตั้งฉลากภัต 8 กองถวายให้พระสงฆ์
ทำให้มีบริวารและโภคทรัพย์มาก
และกลายเป็นเทพารักษ์หรือผีเสื้อนาประจำท้องนาที่ชาวบ้านเคารพ
2)
อานิสงส์ถวายฉลากฉัตแล้วได้เกิดเป็นนางฟ้าชั้นนิมมานรดี
อรรถกถาสิริมาวิมาน
(พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามงกุฎราชวิทยาลัย. 2525 : ขุ.วิ.อ. (ไทย) 48/16/129)
กล่าวถึงนางสิริมาน้องสาวหมอชีวิกได้เลิกอาชีพโสเภณี แล้วตั้งฉลากฉัต 8
กองถวายพระสาวกทุกวันจนวันหนึ่งป่วยตายไปเกิดในสวรรค์เป็นนางฟ้าชั้นนิมมานรดีมีฤทธิสามารถเนรมิตรสิ่งต่าง
ๆ ได้ทุกอย่าง เมื่อเทพชั้นปรนิมมานรดีที่สูงสุดในสวรรค์ 6
ชั้นต้องการอะไรก็จะใช้ให้เทพชั้นนิมมานรดีขึ้นไปเนรมิตรให้ นางฟ้าสิริมามีนางอัปสร
500 ตน เป็นบริวาร
แต่เมื่อพระวังคีสะถามสาเหตุที่นางได้อานิสงส์ให้ได้เกิดเป็นนางฟ้า นางสิริมากลับอธิบายถึงการระลึกถึงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ และการปฏิบัติดีของนางในด้านอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าฉลากภัตเป็นแค่วิธีการทำบุญ แต่บุญเกิดจากจิตใจที่บริสุทธิ์และปัญญาใคร่ครวญคิดพิจารณาธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
วิดีโอที่ 6 การถวายสลากภัตล้านนา
11) สงกรานต์เดือน 5
งานบุญสงกรานต์เดือน 5 เป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวไท-ยวนสีคิ้ว
เริ่มเทศกาลตั้งแต่วันที่ 12 - 15 เมษายน
ชาวไท-ยวนสีคิ้วจะตักบาตรเสร็จแล้วมาฟังเทศน์ที่วัดในตอนเช้า
ตอนบ่ายมีพิธิสรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด
ตอนเย็นมีการเล่นสาดน้ำเหมือนงานสงกรานต์ในท้องถิ่นอื่น แต่ตอนค่ำมีการเล่นรำเดือน
5 โดยมีการไปเล่นตามบ้านต่าง ๆ
ที่เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้อนรับเลี้ยงดูสุราอาหารในช่วงเทศกาลสงกรานต์ไท-ยวน ซึ่งมีการสรงน้ำพระที่ปรากฏในปัญญาสชาดกว่าจะให้อานิสงส์ทำให้มีผิวพรรณงาม ปราศจากโรค มีการก่อกองทรายจะได้อานิสงส์ทำให้ได้เกิดในสวรรค์และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอนาคตดังปรากฏใน
ภาพที่ สงกรานต์ปี 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น