บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2024

ศิลปกรรมไท-ยวน

รูปภาพ
  กดปะกันเน้อกลับไปหน้าหลัก

วรรณกรรมคำสอนไท-ยวน

รูปภาพ
  1) วรรณกรรมหรือชาดกนอกนิบาต 1.1) นิทานไทล้านนา เช่น นางอุทธรา (เต่าคำ ) 1.2) ปัญญาสชาดก เช่น สุธน สุธนู สุภมิตร และอรินทม 1.3) ชาดกนอกนิบาต เช่น หงส์ผาคำ (หงส์หิน) 1.4) ปกรณัม เช่น ประวัติพุทธโฆสะ ปฐมกัปป์ 2 ) วรรณกรรมหรือชาดกในนิบาต 2.1) พุทธประวัติ เช่น ประวัติของมัฎฐกุณฑลี ประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ 2.2) ชาดกในนิบาต เช่น ฉันทันตชาดก มหาสุดโสมชาดก 2.3) ทศชาติ ได้แก่ เป็นเรื่องราว 10 ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย เรื่อง เตมียชาดก ชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก ภูริทัตตชาดก จันทรกุมารชาดก นารทชาดก วิธุรชาดก และเวสสันดรชาดก ซึ่ชาติสุดท้ายเรียกว่า “มหาชาติ” 2.4) มหาชาติ หรือเรื่องพระเวสสันดรชาดก เทศกาลเทศน์มหาชาติของชาวไทยยวนและการฟังเทศคาถา 1,000 ได้อิทธิพลจากความเชื่อในเรื่องพระมาลัยที่ว่าถ้าฟังมหาชาติจบในวันเดียวจะทำให้เกิดในสมัยพระศรีอารย์ มหาชาติแบ่งเป็นกัณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้                 กัณฑ์ที่ 1   ชื่อกัณฑ์ทศพร กล่าวถึงตอนที่พระนางผุสดีขอพรจากพระอินทร์ ...

ประเพณีการละเล่นไท-ยวน

รูปภาพ
  การละเล่นของไทยยวนสีคิ้ว มีทั้งการละเล่นของไทยยวนสีคิ้วและการละเล่นของภาคอีสานที่ผสมกลมกลืนกัน แต่ที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยยวนสีคิ้ว คือ 1) การเล่นจับ ๆ ในงันเฮือนตี งันเฮือนดี คือการมาอยู่ประชุมพร้อมกันเพื่อเป็นการอยู่เป็นเพื่อนบนเรือนของญาติผู้ตายแล้วมีการละเล่นรื่นเริงบางอย่างเพื่อคลายความโศกเศร้าให้ญาติผู้ตาย และแก้เบื่อให้เพื่อน ๆ ญาติ ๆ ผู้มาร่วมงาน มีการจัดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่มีผู้ตายไปจนถึงวันหลังทำบุญ 3 วันหลังวันนำศพไปเผาหรือฝัง โดยการละเล่นในช่วงเวลาดังกล่าวสำหรับพวกหนุ่มสาว มีหมอลำหมอแคนเล่นขับลำคลอแคน , หมากหาบ (หมากแยก) เสือกินหมู (เสือกินวัว) หมากเกิ้งตะเวน (เสือตกถัง) หมากแก้งขี้ช้าง (ทอดไม้) ส่วนสำหรับผู้สูงอายุอาจจะเป็นการเล่านิทานบทร้อยกรอง เช่น สังข์ศิลป์ไชย , การะเกษ ฯลฯ ส่วนวิธีเล่นงานเฮือนดีของชาวไทยยวนสีคิ้วที่เคยนิยมเล่นคือ การเล่นจับ ๆ มีวิธีเล่นคือ 1.1) จัดสิ่งต่าง ๆ ใส่ถาดเครื่องหมากพลูให้ครบแล้วนำมาวางไว้กลางวง 1.2) ให้ผู้เล่นทุกคนนั่งล้อมถาดเครื่องหมากพลู วงละประมาณ 5 - 6 คน 1.3) เริ่มเล่นให้มีใครให้สัญญาณโดยกล่าวว่าจับ ๆ 1.4) แล้วให้ผู้เ...

โหราศาสตร์ไท-ยวน

รูปภาพ
  1) ดาวและกลุ่มดาว 27 นักษัตร บุญรักษา สุนทรธรรม (บรรณาธิการ). ( 2564: 93-108 ) อธิบายถึงดาวและกลุ่มดาว 27 นักษัตร ว่า นักษัตร หมายถึง ดาว หรือ ดาวฤกษ์ มี 27 หมู่ ได้แก่ 1 อัศวินี 2 ภรณี 3 กฤตติกา 4 โรหิณี 5 มฤคศิรา 6 อารทรา 7 ปุนัรวสุ 8 ปุษยะ 9 อาศเลษา 10 มฆา 11 ปูรวผาลคุนี 12 อุตตราผาลคุนี 13 หัสตะ 14 จิตรา 15 สวาตี 16 วิสาขา 17 อนุราธา 18 ชเยษฐา 19 มูละ 20 บุรพาษาฒ 21 อุตราษาฒ 22 ศรวณะ 23 ธนิษฐา 24 ศตภิษัช 25 บุรพภัทรบท 26 อุตรภัทรบท และ 27 เรวดี คำว่า "นักษัตร" เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า "นกฺษตฺร" (อ่านว่า นัก-สัด-ตฺระ) แปลว่า “ดวงดาว” ตรงกับคำที่มาจากภาษาบาลีว่า "นกฺขตฺต" (อ่านว่า นัก-ขัด-ตะ) หรือที่ไทยใช้ว่า "นักขัต" 1.1) อัศวินี อัศวินี หรือ อัสสวรณีอยู่ในราศีเมษ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวม้าตก หรือ ม้าหางหอน ซึ่งดาวในภาษาไทยกลาง ว่า ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวหางหนู ประกอบด้วยดาวอยู่เรียงรายกัน 5 ดวง ในแผนที่ตารางดาวล้านนา ถือเป็นดาวฤกษ์ประจำเมืองขอม 1.2) ภรณี   ภรณีอยู่ในราศีเมษ มีชื่อล้านนาว่า ดาวเขียง หรือ เขียงกอม ชื่อดาวในภาษาไ...