วรรณกรรมคำสอนไท-ยวน


 1) วรรณกรรมหรือชาดกนอกนิบาต

1.1) นิทานไทล้านนา เช่น นางอุทธรา (เต่าคำ)

1.2) ปัญญาสชาดก เช่น สุธน สุธนู สุภมิตร และอรินทม

1.3) ชาดกนอกนิบาต เช่น หงส์ผาคำ (หงส์หิน)

1.4) ปกรณัม เช่น ประวัติพุทธโฆสะ ปฐมกัปป์

2) วรรณกรรมหรือชาดกในนิบาต

2.1) พุทธประวัติ เช่น ประวัติของมัฎฐกุณฑลี ประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ

2.2) ชาดกในนิบาต เช่น ฉันทันตชาดก มหาสุดโสมชาดก

2.3) ทศชาติ ได้แก่

เป็นเรื่องราว 10 ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย เรื่อง เตมียชาดก ชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก ภูริทัตตชาดก จันทรกุมารชาดก นารทชาดก วิธุรชาดก และเวสสันดรชาดก ซึ่ชาติสุดท้ายเรียกว่า “มหาชาติ”

2.4) มหาชาติ หรือเรื่องพระเวสสันดรชาดก

เทศกาลเทศน์มหาชาติของชาวไทยยวนและการฟังเทศคาถา 1,000 ได้อิทธิพลจากความเชื่อในเรื่องพระมาลัยที่ว่าถ้าฟังมหาชาติจบในวันเดียวจะทำให้เกิดในสมัยพระศรีอารย์ มหาชาติแบ่งเป็นกัณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

                กัณฑ์ที่ 1   ชื่อกัณฑ์ทศพร กล่าวถึงตอนที่พระนางผุสดีขอพรจากพระอินทร์ 10 ประการ ก่อนที่จะจุติในโลกมนุษย์เป็นมารดาของพระเวสสันดร (มี 19 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 2   ชื่อกัณฑ์หิมพานต์ กล่าวถึงการจุติปฏิสนธิของพระเวสสันดร จนถึงทรงได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรี พระธิดาแห่งกษัตริย์แคว้นมัทราชจนกระทั่งถูกเนรเทศออกจากเมืองเข้าสู่ป่าถึงป่าหิมพานต์ (มี 134 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 3   ชื่อทานกัณฑ์  กล่าวถึงสัตตสดกมหาทาน พระเวสสันดรสั่งเมืองและให้ทานรถเทียมด้วยม้าแก่ผู้ที่มาทูลขอ (มี 209 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 4   ชื่อกัณฑ์วนปเวศน์ กล่าวถึงสี่กษัตริย์เสด็จถึงนครมาตุลราช พระยาเจตราฐ  เจ้าเมืองทูลขอให้ครองสมบัติ พระเวสสันดรไม่ทรงรับ (มี 57 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 5   ชื่อกัณฑ์ชูชก กล่าวถึงพราหมณ์ชูชกขอทานจนได้นางอมิตตดาลูกสาวเพื่อนเป็นเมีย เมียต้องการคนรับใช้ให้พราหมณ์ชูชกไปขอกัณหาและชาลีมาเป็นคนใช้ พราหมณ์จึงออกเดินทางไปสู่เขาวงกฏ เจอพรานเจตบุตรผู้รักษาทางเข้าป่าหิมพานต์ (มี 79 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 6   ชื่อกัณฑ์จุลพน พรานเจตบุตรถูกชูชกหลอกจึงบอกทางไปสู่เขาวงกฏ (มี 15 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 7   ชื่อกัณฑ์มหาพน กล่าวถึงพราหมณ์ชูชกพบอจุตฤาษี ก็ชี้ทางไปสู่เขาวงกฏ ถึงป่าเขาลำเนาไพร (มี 80 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 8   ชื่อกัณฑ์กุมาร ชูชกไปถึงเขาวงกฏเพื่อขอกัณหาชาลี สองกุมารลงไปหลบในสระน้ำ พระเวสสันดรเรียกขึ้นมามอบให้พราหมณ์ชูชก ชูชกทุบตีฉุดกระชากลากสองกุมารไป (มี 10 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 9   ชื่อกัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ในป่าพบสัตว์สามตัวนอนขวางทางจึงไม่พบลูกทั้งสอง พอทราบความจริงก็เป็นลมสลบไป (มี 90 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 10   ชื่อกัณฑ์สักกบรรพ์ พระอินทร์แปลงกายมาทูลขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดรแล้วคืนให้ พระเวสสันดรทูลขอพร 8 ประการจากพระอินทร์ (มี 43 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 11   ชื่อกัณฑ์มหาราช พราหมณ์ชูชกพา 2 กุมารหลงทางเข้าสู่เมืองสีพี พระเจ้าสัญชัยทรงไถ่กุมารคืนด้วยสิ่งของอย่างละ 100 พราหมณ์ชูชกรับประทานอาหารจนตายพระเจ้าสัญชัยเตรียมไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรี (มี 69 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 12   ชื่อกัณฑ์ฉกษัตริย์ กล่าวถึงหกกษัตริย์พบกัน เกิดความยินดีจนเศร้าโศกสลบไป พระอินทร์บันดาลฝนโบกขรพรรณตกลงมาประพรมจนฟื้นคืนสติทั้งหมด (มี 39 คาถา)

                กัณฑ์ที่ 13 ชื่อกัณฑ์นครกัณฑ์ (ขณะเทศน์จะมีการโปรยข้าวตอกข้าวสาร สมมติว่าพระอินทร์ได้บันดาลฝนแก้ว “รัตนธารา”) กัณฑ์สุดท้ายถือเป็นกัณฑ์ชัยมงคลกล่าวถึงพระเวสสันดร พระนางมัทรี ลาจากเพศพรตฤาษีนิวัติคืนสู่พระนครครองเมืองสีพี พระอินทร์บันดาลห่าฝนสัตตรตนะธาราตกลงทั้งภูมิมณฑลโปรดให้ประชาชีทำบุญทำทานตลอดพระชนมชีพ (มี 48 คาถา)

               ในระหว่างเทศน์มหาชาติ ใครจะบูชากัณฑ์เทศน์ไหนตามแต่อัธยาศัย ใครจะทำบุญอุทิศให้แก่ใครก็เขียนใส่สะเรียงคือกระดาษตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่ามีปลายแหลม แล้วเอาพันปลายไม้ที่เหลาไว้ปักบนกัณฑ์เทศน์

เมื่อเทศน์จบกัณฑ์หนึ่งๆ จะมีการประโคมฆ้องกลองบูชาบนวิหารก็จะจุดประทัดบอกสัญญาณให้รู้ว่า“ธรรมจบกัณฑ์หนึ่ง“แล้วคนอยู่ที่ไหนได้ยินเสียงกลองก็จะประนมมือไหว้มาทางวัดกล่าวคำว่า   “สาธุ”

กดปะกันเน้อกลับไปหน้าหลัก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การฟื้นฟูอานิสงส์และภูมิปัญญาของไท-ยวน

อานิสงส์ประจำชีวิต

สำนวนไทย