ภูมิปัญญาไท-ยวน
ภูมิปัญญาไทยยวนสีคิ้วที่ปรากฏหลงเหลือในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่
1. ภูมิปัญญาด้านโหราศาสตร์
ความเชื่อเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ราหู ฤกษ์ยามต่าง ๆ
ความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำปีเกิด ฯลฯ
2. ภูมิปัญญาด้านการละเล่น ได้แก่ งันเฮือนตี และจ้อกหลุม เป็นต้น
3. ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม สำนักเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (2560: ออนไลน์) อธิบายไว้ดังนี้
1) สถาปัตยกรรม คือบ้านไทยยวนจะ มีห้องที่มีหลังคายอดแหลม 2-3 ห้องหรือมากกว่า 3 ห้องขึ้นไป โดยห้องหลักเรียกว่าเรือนพ่อแม่ ห้องอื่นเรียกว่าเรือนลูก สำหรับเรือนที่มี 2 ห้อง โดยการขยายเรือนให้มี 3 ห้องจะขยายต่อไปทางเรือนลูกไม่ขยายออกจากเรือนพ่อแม่ที่เป็นห้องหลัก
2) ผ้าทอ ได้แก่ ผ้าขาวม้าตาม่อง ผ้าขาวม้าตาคีบ ผ้าห่มเสื่อ (สีขาวเชิงลาย) ผ้าห่มมุก (ผ้าสีเชิงลาย) ผ้าซิ่นยวนโบราณ และผ้าซิ่นยวนประยุกต์
3) หัตถกรรม เช่น การปักผ้า ปักหมอน ถุงย่ามลายไทยยวน สุ่ม ลอบ จั๋ม สะดุง ฯลฯ
4) ประเพณีและพิธีกรรม ประจำฮีต12 ของไทยยวนสีคิ้ว เช่น
มกราคม – เทศน์มหาชาติ (บ้านโนนกุ่ม, บ้านถนนคต) , กุมภาพันธ์ งานขึ้นบ้านใหม่, งานทำบุญกลางบ้าน, มีนาคม – บุญวันมาฆบูชา, เมษายน – สงกรานต์, พฤษภาคม –เลี้ยงพ่อพญา –ก่อพระทราย , มิถุนายน- บุญวิสาขบูชา ปอยข้าวสัง (บ้านโนนกุ่ม) , ทำบุญกลางบ้าน (บ้านโนนกุ่ม), กรกฎาคม – ทำบุญตามบ้าน ปอยพระสัง, สิงหาคม บุญเข้าพรรษา บุญอาสาฬหบูชา ตักบาตรดอกไม้ สวดมนต์เวรขันแก้ว, กันยายน – ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่, ตุลาคม – บุญตานก๋วยสลาก ประดิษฐ์ต้นก๋วนติ๋น ทำขนมกระยาสารท , พฤศจิกายน – เทศน์มหาชาติ แห่กัณฑ์หลอน กวนข้าวยาคู, ธันวาคม ทำบุญกลางบ้าน ลอยกระทง ฯลฯ
5) การดนตรีและฟ้อนรำ ได้แก่ รำแคนเดือนห้า รำโทน รำไทยยวน
4. ภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมคำสอน เช่น ข้อห้ามต่าง
ๆ คำสอนทางพุทธศาสนาที่สำคัญ ความเชื่อเรื่องบุญบาป ฯลฯ
5. ภูมิปัญญาอื่น ๆ เช่น ภูมิปัญญาด้านอาหาร (แกงหยวก คั่วไข่ผำ ตำบ่หนุน น้ำพริกหมู ส่าจิ้น ส่าบ่เขือ สู่สี่ ห่อหมกหมู ขนมผัวเมีย ข้าวกระยาสารท ข้าวแคบ ข้าวต้มน้ำป้าว ข้าวแต๋น ข้าวเปี่ยง ข้าวโป๋ง ข้าวยาคู ฯลฯ)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น